|
|
Agrarian Utopia |
th
ภาพยนตร์โดย อุรุพงศ์ รักษาสัตย์ (เรื่องเล่าจากเมืองเหนือ)
เรื่องย่อ:
ชาวนาสองครอบครัวซึ่งถูกยึดที่นาได้ร่วมทำนาบนผืนดินเดียวกัน หวังว่าจะผ่านชีวิตหนึ่งปีของการทำนาไปดังเช่นที่เคยเป็นมา แต่ดูเหมือนว่า ไม่ว่าโลกจะพัฒนาไปเท่าใด เศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของประเทศจะเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน พวกเขาก็ยังไม่อาจไขว่คว้าหนทางแห่งชีวิตที่ไร้ซึ่งความทุกข์ยากได้
เราจะฝันถึงโลกในอุดมคติได้อย่างไร ถ้าท้องของเรายังคงหิวอยู่
Agrarian Utopia – Trailer
ดูออนไลน์ (ราคาครั้งละ 2-3 เหรียญสหรัฐ):
122 นาที, HDV, สี, ภาษาไทย มีคำบรรยายภาษาอังกฤษ, ปี 2552
ผู้กำกับ: อุรุพงศ์ รักษาสัตย์
อำนวยการสร้าง: พิมพกา โตวิระ
ร่วมอำนวยการสร้าง: วิทวัส เมฆสวรรค์
ถ่ายภาพ: อุรุพงศ์ รักษาสัตย์
ผู้ช่วยผู้กำกับ: เกรียงศักดิ์ วิทยาอนิวัฒน์
ประสานงานทั่วไป: นริศรา สายสงวนสัตย์
ตัดต่อ: อุรุพงศ์ รักษาสัตย์
ผู้ช่วยตัดต่อ: นิติวัตน์ ชลวณิชสิริ
Sound Re-recording Mixer: อัคริศเฉลิม กัลยาณมิตร
ผลิตและจัดจำหน่ายโดย บริษัท เอ็กซ์ตร้า เวอร์จิ้น จำกัด
เข้าฉายวันที่ 2 กันยายน 2553 เรต 15
ภาพยนตร์ได้รับการสนับสนุนโดย:
กองทุน Hubert Bals, ด้าน Digital Production, เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ ร๊อตเทอร์ดัม (International Film Festival Rotterdam)
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
สารจากผู้กำกับ:
นอกเหนือจากการทำหนังแล้ว สิ่งที่ผมสนใจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันคือ การเกษตรกรรม ผมคิดว่ามันเป็นอาชีพที่ประเสริฐที่สุดของมนุษย์เรา
ถ้าเปรียบกับอาชีพอื่นแล้ว การทำเกษตรกรรมคือการผลิตอาหารจากดินเพื่อนำมาใช้กินโดยตรง ขณะที่อาชีพอื่นๆ ล้วนแต่ต้องทำเพื่อให้ได้เงินมาซื้ออาหาร
ผมสงสัยว่าอาชีพตั้งมากมายบนโลกนี้ (รวมถึงการทำหนัง) มันจำเป็นจริงๆหรือเปล่า มันจำเป็นต่อโลกใบนี้มากแค่ไหน เพราะผมรู้สึกว่ายิ่งเราทำอะไรซับซ้อนมากเท่าไร มันก็ดูเหมือนจะว่างเปล่ามากเท่านั้น ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
การทำเกษตรกรรมในยุคนี้ก็มีปัญหาในหลายระดับ ตั้งแต่การถือครองที่ดิน และนโยบายระดับประเทศที่เน้นการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจเพื่อที่จะแข่งขันกับนานาประเทศ ทั้งหมดทั้งมวลมันเพื่ออะไรกัน ผมยังสงสัยอยู่ว่า โลกาภิวัตน์ ในเวลานี้มันมีอำนาจมากกว่ารัฐบาลของเรา มันผลักเราไปไกลเหลือเกิน และก็ไม่รู้ว่ามันจะพาเราไปไหน
การทำเกษตรกรรมในประเทศไทยตอนนี้ อาจจะรวมถึงทั่วโลก โดยส่วนใหญ่ มันไม่ได้ทำเพื่อบริโภคโดยตรงอีกแล้ว แต่มันทำเพื่อขาย แลกเปลี่ยนมาเป็นตัวเงิน เพื่อนำเงินมาแก้ปัญหาต่างๆ ที่เราผูกหรือก่อขึ้น เพราะฉะนั้นเกษตรกรจึงเน้นปริมาณการผลิตด้วยสารเคมี ด้วยเครื่องจักร และแน่นอนที่สุดสิ่งที่เขาให้ความสำคัญลดน้อยลงไปก็คือการปลอดภัยของอาหาร เมื่อมันเป็นอย่างนี้ประเทศไทยจึงหมดความชอบธรรมที่จะกล่าวว่า เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของโลก
ชมบทสัมภาษณ์ผู้กำกับ อุรุพงศ์ รักษาสัตย์
en
A film by Uruphong Raksasad (STORIES FROM THE NORTH, 2006)
Synopsis:
Facing seizure of their own lands, two families found themselves farming together on the same field, hoping to get through just another rice-farming season like every year. But no matter how much the world is evolving, how much the country is going through economic, political and social changes, they still cannot grasp that ideology of happiness.
How can we dream of utopia while our stomach is still grumbling?
Agrarian Utopia – Trailer
Now available on DVD – Click here to buy
Watch now on VoD:
122 minutes, HDV, Colour, In Thai with English Subtitles, 2009
Director: Uruphong Raksasad
Producer: Pimpaka Towira
Associate Producer: Mai Meksawan
Cinematographer: Uruphong Raksasad
Assistant Director: Kriangsak Wittaya-aniwat
Office Coordinator: Narisara Saisanguansat
Editor: Uruphong Raksasad
Assistant Editor: Nitivat Cholvanichsiri
Sound Re-recording Mixer: Akritchalerm Kalayanamitr
Production /
International Sales: Extra Virgin
Release date: 2 September 2010, Rating 15
Supported by:
Hubert Bals Fund, Digital Production, International Film Festival Rotterdam
Office of Contemporary Art and Culture, Ministry of Culture, Thailand
Director’s Statement:
Apart from filmmaking, what interests me to an equal extent is agriculture. I feel it is among mankind’s most noble professions.
To compare, in agriculture we get to produce food from the soil for direct consumption, while other occupations only produce us income for buying food.
Modern agriculture is facing problems on many levels, from land ownership to national policy’s focus on economic growth and international competition. What are all these for ultimately? I wonder if globalization forces today have become much more powerful than national governments. I don’t know where it will take us.
Watch the video interview with Uruphong Raksasad (in Thai)